คำแนะนำเบื้องต้น
1. กรวยรองรับวัสดุ 2. ช่องทางเข้าวัสดุ
3. ลิ้นปิด-เปิดวัสดุลง 4. ฝาคลอบสายพาน
5. สายพาน 6. กระบอกรังผึ้ง
7. ชุดลูกกลิ้งอัดเม็ดปุ๋ย 8. ฝาครอบกระบอกรังผึ่ง
9. ลูกปืนตุ๊กตาหัวอัดจารบี 10. ชุดเฟืองโซ่ RJ 303
11. ฝาครอบชุดเฟืองโซ่ RJ 303 12. ชุดเฟืองโซ่RJ302
13. น๊อตล๊อกฝาคลอบรังผึ่ง 14. มอเตอร์
15.ช่องทางออกของวัสดุ 16.รูยึดฐานเครื่อง
วิธิการติดต้งและใช้งาน
1. ยึดขาเครื่องอัดเม็ดปุ๋ยให้ติดแน่นอยู่กับพื้น (หมายเลข 18)
2. ติดตั้งสายไฟฟ้าต่อเข้ากับเบรก เกอร์ไฟขนาด 50 แอมป์
(ควรใช้สายไฟขาด 2 x 1.5-2.5)
3. ขนาด เบรกเกอร์ (50 แอมป์ ) ไม่รวมที่อยู่ในตัวเครื่อง
4. ใช้หม้อแปลงไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 15 แอมป์
5. ปิดลิ้นปิดเปิดทางเข้าให้สนิท ต้องให้แน่ใจว่าไม่มีวัสดุใดๆตกค้างอยู่ใน
กระบอกรังผึ้ง
6. นำวัสดุที่ผสมแล้วใส่กรวยรองรับวัสดุ (หมายเลข 1)
7. นำภาชนะรองที่ช่องทางออกวัสดุ (หมายเลข 17)
8. เปิดเบรกเกอร์ในตำแหน่ง ON ให้เครื่องทำงาน
9. ค่อยๆดึงลิ้นปิด-เปิดฝาช่องทางเข้าเพื่อให้วัสดุที่จะอัดเม็ดลงเป็นระยะๆ (หมายเลข 3)
คำเตือน : เพื่อความปลอดภัยควรต่อสายดิน
วิธีการดูแลรักษา
1. เมื่อใช้งานเสร็จแล้วทุกครั้งควรทำความสะอาดรังผึ้งทันที
2. ก่อนและหลังการใช้งานต้องทำความสะอาดห้องเครื่องอย่าให้มีวัสดุตกค้าง
3. ตรวจเช็คจุดเชื่อมต่อสายไฟทุกจุดให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
5. ตรวจเช็ดสภาพสายพานทั้ง 2 เส้นให้มีความตึงพอดี อยู่เสมอ
6. ตรวจเช็ดสภาพโซ่และสเตอร์ ให้มีความตึงพอดี อยู่เสมอ
ข้อควรระวัง
1. สายไฟฟ้าห้ามใช้เป็นแบบปลั๊กเสียบ
2. อย่าให้มีวัสดุที่มีความแข็ง เช่น-เศษเหล็ก - เศษหิน – ตะปู -เข้าเครื่อง
ในขณะทำงาน
3. อย่าให้น้ำและวัสดุที่มีความชื้นเข้ามอเตอร์ขณะทำงานและทำความสะอาด
4. ไม่ควรนำวัสดุเข้าพร้อมกันครั้งละมากๆ
5. ไม่ควรนำวัสดุที่ความชื้นเกิน 60% และแห้งเข้ามาอัดเม็ด
6. ห้ามเปิดฝาคลอบกระบอกรังผึ้งขณะเครื่องทำงาน
7. ควรแต่งกายให้รัดกุมขณะปฏิบัติงาน